การทำสติปัฏฐานมี 2 ขั้นตอน ขั้นเพื่อให้เกิดสติ กับขั้นเพื่อให้เกิดปัญญา

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

เคล็ด-เตือนให้จำ สำหรับนักดูจิต

การทำสติปัฏฐานมี 2 ขั้นตอน

การทำสติปัฏฐานมี 2 ขั้นตอน ขั้นเพื่อให้เกิดสติ กับขั้นเพื่อให้เกิดปัญญา

ขั้นจะให้เกิดสติ พอมีสติแล้วเราจะรู้ตัวขึ้นมา (บางคนใช้คำว่ารู้สึกตัว รู้สึกตัวคือจิตมันมีสติ มี
สัมมาสมาธิขึ้นมา)
บางทีเถียงกันนะ ต้องรู้สึกตัวก่อนถึงจะดูจิต หรือว่าดูจิตก่อนแล้วรู้สึกตัว
ความจริงก็คือว่าให้รู้กาย ให้รู้ใจไป จนจิตจำสภาวะได้แม่นแล้วก็มีสติรู้สึกตัวขึ้นมาได้เอง
บางคนบอกดูจิตก่อน แล้วรู้สึกตัว ก็ถูกเหมือนกันแต่ว่ามันไม่ใช่การดูจิตแท้ๆ หรอก เป็นเบื้องต้น เท่านั้นเอง เป็นการฝึกหัดรู้สภาวะ แล้วก็ไม่ใช่ดูแต่จิต ดูกายด้วย บางคนต้องดูกาย บางคนต้องดู เวทนา บางคนก็ดูจิต
เบื้องต้นเอาอันเดียวก่อนเป็นหลักไว้ก่อน อันอื่นเป็นของแถม ไม่ใช่รู้อันเดียวนะ
นักปฏิบัติไม่ใช่รู้กายอย่างเดียว ไม่ใช่รู้เวทนาอย่างเดียว ไม่ใช่รู้จิตอย่างเดียว อย่าสำคัญผิดไปนะ
เพียงแต่มีอันนึงเป็นวิหารธรรมไว้
ถ้าหากต้องรู้เพียงอันเดียว (ต้องรู้กายอย่างเดียว รู้จิตอย่างเดียว) โดยไม่ให้ไปรับรู้อย่างอื่น อย่าง
นั้นก็ไม่ใช่วิหารธรรมแล้ว แต่เป็นคุก เป็นตารางขังจิตไม่ให้ไปที่อื่น เพราะฉะนั้น

  • คนไหนถนัดรู้กายก็รู้กายเนืองๆ บางทีจิตก็หลงไปคิดเรื่องอื่น บางทีก็เข้าไปรู้จิต
  • คนไหนถนัดรู้เวทนา ก็รู้เวทนาเนืองๆ บางทีก็รู้กาย บางทีก็รู้จิต บางทีก็หลงไปคิดเรื่องอื่น
  • คนไหนถนัดดูจิตก็ดูจิตไป ที่เป็นกุศลเป็นอกุศล บางทีก็รู้กาย บางทีก็รู้เวทนา บางทีก็ไปรู้เรื่องอื่น
    หลงไป

เพียงแต่มีอันใดอันหนึ่งนั้นแหละเป็นฐาน เป็นบ้าน ไว้ดูบ่อยๆ ถนัดรู้กายก็รู้กาย ถนัดรู้เวทนาก็รู้เวทนา ถนัดรู้จิตก็รู้จิตไป เรียนกับหลวงพ่อไม่ใช่ดูจิตนะ สิ่งที่หลวงพ่อถ่ายทอดให้มันคือหลักการปฏิบัติกว้างๆ ใครถนัดแนวไหนก็เดินแนวนั้นไม่ได้ผิดอะไร ต้องถูกหลัก พอรู้กายบ้าง รู้จิตบ้าง ถูกต้องแล้วสติจะเกิดเอง ค่อยรู้สึกตัวขึ้นมา บางคนเลยบอกว่าดูจิตแล้วรู้สึกตัวก็ได้ ไม่ดูจิตแล้วรู้สึกตัวก็ได้ ไปดูกาย ดูกายแล้วรู้สึกตัวก็ได้ ความรู้สึกตัวที่เกิดขึ้นจากการดูกาย ความรู้สึกตัวที่เกิดจากการดูจิต เหมือนกันเปี๊ยบเลย พอรู้สึกแล้วบังคับไม่ได้ เดี๋ยวสติก็รู้กาย เดี๋ยวสติก็รู้จิต แต่จะรู้ด้วยความรู้สึกตัว จิตจะตั้งมั่นขึ้นมา มีสัมมาสมาธิขึ้นมา ไม่หลงไม่เผลอไป ไม่เพ่งไม่เผลอ จิตจะรู้สึกตัว ตั้งมั่นที่จะรู้สึกตัว คำว่ารู้สึกตัว คือไม่เผลอ ไม่เพ่งนั่นเอง มีสติ แล้วก็ไม่ไปเผลอไป ไม่ไปเพ่งไว้ ปัญญามันก็เกิด

คอยมีสติรู้กายรู้ใจไปเรื่อยๆ ด้วยจิตที่ตั้งมั่น อย่างนี้เรียกว่าการเจริญสติปัฎฐานเพื่อให้เกิดปัญญา

หัดตามรู้กาย หัดตามรู้ใจเรื่อยๆ จนจิตจำสภาวะได้ นี่เป็นการทำสติปัฎฐานให้เกิดสติ

มีสติรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางทำให้เกิดปัญญา

มีปัญญาแก่รอบก็เกิดวิมุติ จิตก็จะปล่อยวางความถือมั่น

จาก วิมุตติ

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ชอบมากครับ ขอบคุณ ที่หาสิ่งดีๆมาแนะนำกันครับ ขอบคุณครับ

คลังบทความของบล็อก